หน้าแรก
ประเภทของสารเสพติด
สารที่อยู่ในสารเสพติด
โทษของสารเสพติด
ข้อมูลผู้จัดทำ
สารที่อยู่ในสารเสพติด

 

สารพิษที่สำคัญใน ได้แก่

1.นิโคติน (Nocotine) เป็นสารที่มีลักษณะคล้ายน้ำมันไม่มีสี เป็นสารที่ทำให้เกิดการเสพติดและทำให้เกิดโรคหัวใจ

2.ทาร์ (Tar) ประกอบด้วยสารหลายชนิด เป็นละอองหลวเหนียว สีน้ำตาลคล้ายน้ำมันดิน ทาร์จะจับอยู่ที่ปอด ทำให้เยื่อบุหลอดลมไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ

3.คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide) ซึ่งเป็นก๊าซชนิดเดียวกับที่พ่นออกจากท่อไอเสียรถยนต์ ก๊าซนี้จะขัดขวางการลำเลียงออกซินเจนของเม็ดเลือดแดง

ทำให้ผู้สูบบุหรี่ได้รับออกซิเจนน้อยลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10-15 ทำให้หัวใจต้องเต้นเร็วขึ้นและทำงานมากขึ้น

4.ไฮโดรเจนไดออกไซด์ (Hydrogen dioxide) เป็นก๊าซพิษที่ใช้ในการสงคราม ก่อให้เกิดอาการไอ มีเสมหะ และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

5.ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen dioxide) เป็นสาเหตุของโรคถุงลมปอดโป่งพอง เพราะไปทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลายและถุงลม

6.แอมโมเนีย (Ammonia) มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ ใช้ในขบวนการผลิตเพื่อให้นิโคตินถูกดูดซึมผ่านปอดเร็วขึ้น

7.ไซยาไนด์ (Cyanide) ซึ่งปกติใช้เป็นยาเบื่อหนู ก็พบในบุหรี่ด้วยเช่นกัน

8.ฟอร์มาล์ดีไฮด์ (Formaldehyde) เป็นสารที่ใช้ดองศพมีการนำมาใช้ในขบวนการผลิตบุหรี่

9.สารปรุงแต่งกลิ่นรสจำนวนมากซึ่งยังไม่ทราบผลกระทบต่อร่างกาย

เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวผ่านทางสื่อกล่าวถึงยาเสพติดสายพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่า “ice (ไอซ์)” หรือ “กลาส” หรือ “เกล็ดหิมะ” แต่แท้ที่จริงแล้ว ice (ไอซ์) ไม่ใช่ยาเสพติดสายพันธุ์ใหม่ แต่คือยาบ้าหรือเมทแอมเฟตามีนในรูปที่เป็นสารบริสุทธิ์ ซึ่งเพิ่งกลับมาระบาดใหม่อีกครั้งในรูปพรรณใหม่ ใน ค.ศ. 1987 นั่นเอง การกลับมาระบาดของเมทแอมเฟตามีนครั้งนี้มาในรูปพรรณเป็นผลึกคล้ายก้อนน้ำแข็ง ซึ่งในครั้งนี้ได้มีการจับกุมห้องทดลองทางเคมีเถื่อนที่ลักลอบสังเคราะห์เมทแอมเฟตามีนรูปพรรณใหม่นี้ด้วย เนื่องจากกฎหมายระหว่างประเทศได้เข้มงวดกวดขันในการนำเข้า-ส่งออกของแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีนเป็นอย่างมาก นักค้ายาจึงหันมาผลิตเองโดยใช้วิธีตั้งห้องทดลองทางเคมีขึ้นมาเองเพื่อผลิตแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน โดยใช้สารตั้งต้นที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่สามารถหาได้ในประเทศ การลักลอบสังเคราะห์แอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีนนั้นอาศัยขบวนการทางเคมีอย่างง่ายๆไม่มีความสลับซับซ้อนเลย และสามารถทำตามวิธีสังเคราะห์ที่เขียนไว้เป็นสูตรสำเร็จ ซึ่งถ่ายทอดต่อมาในวงการ จึงไม่จำเป็นต้องใช้นักเคมีหรือบุคคลที่เรียนมาทางเคมี ดังนั้นสารเคมีที่ผลิตได้จึงไม่น่าเชื่อถือในด้านความบริสุทธิและอาจมีสารที่เป็นอันตรายเจือปนอยู่มากมาย ต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้อีฟีดรีน,ซูโดอีฟรีดีน ฯลฯ ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของการสังเคราะห์ยาบ้าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ซึ่งตามกฎหมายห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย นำเข้าหรือมีไว้ในครอบครอง ดังนั้นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์จึงหายากขึ้นมาก การผลิตในประเทศจึงน้อยลงมาก

 
  
ลิขสิทธิ์ © 2017 โรงเรียนพิชัย อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
จัดทำโดย เด็กหญิงกวินธิดา แผ้วเกษม เลขที่18 ชั้น2/1 เด็กหญิงณัฐณิชา บุนาค เลขที่20 ชั้น 2/1